ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการเป็นอย่างไร เกิดจากอะไรบ้าง

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด

ซึมเศร้าหลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ของคุณแม่หลังคลอดลูก เกิดขึ้นกว่า 20% ในคุณแม่ที่พึ่งให้กำเนิดบุตร และมีแนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยไลฟ์สไตล์และความตึงเครียดในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ในบทความนี้เราจะลองไปดูกันค่ะว่าการ ซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีอาการเป้นอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันโรคซึมเศร้าหลังคลอดค่ะ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คือ ภาวะความผิดปกติที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคุณแม่ ทำให้มีอาการอย่างเช่น อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด อยากจะร้องไห้ หรือร้องไห้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ 

ซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blues มักเริ่มมีอาการหลังจากการคลอดเพียงไม่กี่วัน บางรายมีอาการเพียง 4-10 วัน อาการก็จะดีขึ้นและหายไปเองได้ สาเหตุก็มาจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลังให้กำเนิดบุตร 

คุณแม่บางคนอาจต้องรับมือกับอาการซึมเศร้าหลังคลอดนานกว่า 2 อาทิตย์ ซึ่งถ้าเลย 2 อาทิตย์แล้วพบว่าคุณแม่ยังมีอาการอยู่ ก็จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ต่อไป 

โรคซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่อยู่ในภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ โดยส่วนมากปัจจัยที่ทำให้มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดมักเป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้เช่น ปัจจัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อคุณแม่คลอดบุตรอย่าง ฮอร์โมน สภาพแวดล้อม รวมไปถึงพันธุ์กรรม 

คุณแม่บางคนอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากกว่า หากมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. มีประวัติการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ หรือเคยมีประวัติภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมาก่อน
  2. เคยมีหรือปัจจุบันมีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ หรือมีปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ เช่น ปัญหาในการควบคุมอารมณ์
  3. ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ต้องรับมือกับปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือการมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้คุณแม่มีความเครียดและกังวล
  4. ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคลอดและหลังการคลอด เช่น ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดและไม่แข็งแรง ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านสุขภาพคุณแม่เอง ความกังวลเรื่องน้ำนมไหลไม่เพียงพอ 
  5. คุณแม่บางคนเกิดความเครียดจากการที่ต้องเลี้ยงลูกน้อยเพียงลำพัง หรือไม่มีสามีหรือครอบครัวช่วยเหลือเท่าที่ควร   

อาการซึมเศร้าหลังคลอด

อาการซึมเศร้าหลังคลอดที่เกิดขึ้นกับคุณแม่แต่ละคน มักมีอาการและสัญญาณของโรคแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถครอบคลุมอาการซึมเศร้าหลังคลอดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • เกิดความรู้สึกผิดหวัง ไร้ค่า มีความรู้สึกว่าเป็นแม่ที่ไม่มีความสามารถ
  • ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ อ่อนไหวง่าย
  • รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่มีสมาธิ ไม่มีอารมณ์ร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมที่ทำเป็นประจำในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่การเลี้ยงดูลูก 
  • มีอาหารเบื่ออาหารหรืออยากกินอาหารตลอดเวลา
  • ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  • นอนไม่หลับ หรือง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา
  • รู้สึกโดดเดี่ยว วิตกกังวล สิ้นหวังและหาทางออกไม่ได้
  • มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว 
  • อาจมีความคิด หรือภาพการทำร้ายตัวเองและลูกผุดขึ้นมาในสมอง

อาการซึมเศร้าหลังคลอด หากไม่ร้ายแรง ก็สามารถหายไปเองได้ คุณแม่จะมีอาการดีขึ้นเมื่อร่างกายและจิตใจปรับสภาพไปได้สักระยะหนึ่ง แต่หากคนในครอบครัวสังเกตเห็นว่าคุณแม่มีอาการซึมเศร้าอย่างหนัก มีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือลูก หรืออาการยังกินเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ครอบครัวควรรีบพาคุณแม่เข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอดต่อไปค่ะ   

💡 เทคนิคเพิ่มเติม 💡

คุณแม่หลังคลอดที่มีน้ำนมน้อย ขอแนะนำให้ลองบำรุงร่างกายด้วยน้ำหัวปลีดูค่ะ จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมไหลมาเทมา พร้อมปั๊มนมให้ลูกรักกินได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

คลิกดูสินค้าน้ำหัวปลี

วิธีป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

วิธีป้องกันคุณแม่จากความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหลังครอบ ได้แก่

1.พักผ่อนให้เพียงพอ 

การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้คุณแม่ลดอาการตึงเครียดลงได้ ช่วยให้มีจิดใจที่สดใส กระปรี้กระเปร่า

2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 

ช่วยให้สุขภาพร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เมื่อสุขภาพกายสมบูรณ์ ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต เพราะไม่มีอะไรต้องวิตกกังวล ทำให้ไม่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 

ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และยังเป็นกิจกรรมที่คุณแม่ทำได้ง่าย ๆ สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้กับตัวเองได้ เพราะได้ทำกิจกรรมเพื่อตัวเอง การออกกำลังกายยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้คุณแม่เพลิดเพลิน ลดความเครียด ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากหน้าที่อื่น ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งได้ 

4.ความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว 

ครอบครัวคือตัวช่วยสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ การสังเกตอาการ ช่วยให้กำลังใจ ช่วยแบ่งเบาภาระของคุณแม่ไปบ้าง หรือแม้แต่การถามไถ่อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีว่ามีคนที่รักอยู่เคียงข้าง เวลาที่ต้องเจอกับปัญหาอะไรก็ไม่ต้องแก้ปัญหาอย่างโดดเดี่ยว  

5.ปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนตั้งครรภ์

หากเคยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน เพื่อที่ในระหว่างตั้งครรภ์แพทย์จะได้คอยติดตามอาการและสัญญาณของภาวะซึมเศร้าอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติแพทย์จะเริ่มทำการรักษาทันที เพื่อไม่ให้มีอาการที่รุนแรงขึ้น

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงเป็นซึมเศร้าหลังคลอดบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ อย่างเช่น ฮอร์โมน แต่ก็มีอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่ตัวคุณแม่เองและคนในครอบครัวสามารถช่วยกันป้องกันได้ และยิ่งครอบครัวและคนใกล้ชิดคุณแม่มีสุขภาพกายและใจที่ดีมาก ก็ย่อมช่วยให้คุณแม่ห่างไกลความเสี่ยงต่ออาการดังกล่าวได้มากเท่านั้นค่ะ 

———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *