ทารกสําลักออกจมูก
ในบางครั้งการกินนมแม่ก็ทำให้ ทารกสําลักออกจมูก ได้อย่างง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกินนมแม่จากเต้า หรือการกินนมจากขวดนมก็ตาม ต้องยอมรับว่าอาการทารกสําลักออกจมูกนั้นเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด เพราะขอบอกเลยว่าการที่ทารกสําลักออกจมูกในขณะที่กินนมนั้นเป็นอันตรายมากจริง ๆ ในบทความนี้ Kidminute จะพาทุกท่านไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการที่ทารกสําลักออกจมูกกันค่ะ ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และควรป้องการอาการทารกสําลักออกจมูกอย่างไรบ้าง
สาเหตุที่ทำให้เด็กทารกสำลักออกทางจมูก
สาเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ มีอาการสำลักออกมาทางจมูก คือ
- สาเหตุจากอวัยวะการกลืนหรือระบบทางเดินอาหารของทารกมีปัญหา เช่น เกิดการอุดตัน สำลัก ไอ หรือหอบขณะที่กินนม
- ปัญหาที่เกิดจากความผิดปรกติของ ปอด และหัวใจ หรือเป็นสาเหตุจากพัฒนาการล่าช้าของเด็ก ๆ เกี่ยวกับอวัยวะดังกล่าว
- เกิดจากการดูดนมผิดจังหวะ เช่น คุณแม่ดึงเต้านมออกในขณะที่ลูกกำลังดูดนมอยู่
- ทารกสำลักน้ำนมเพราะคุณแม่มีน้ำนมไหลเร็วและแรงเกินไป ส่งผลให้ลูกกลืนน้ำนมไม่ทัน
- ผลกระทบจากการที่ลูกน้อยมีแก๊สในท้องมาก ส่งผลให้สำลักหรือสำรอกน้ำนมออกมา
- คุณแม่ หรือผู้ให้นมโดยขวดนมให้นมผิดท่า ผิดวิธี
- ทารกได้รับน้ำนมมากเกินความต้องการ
- การใช้จุกนมผิดขนาด หรือการเลือกใช้รูของจุกนมที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณการดื่มหรือวัยของเด็กตามคำแนะนำ ทำให้นมไหลออกมากเกินไป ทำให้ลูกสำลักน้ำนมได้
ทารกสําลักออกจมูกเป็นอันตรายหรือไม่ ?
ส่วนมากแล้ว อาการสำลักนมจนออกจมูก สามารถเกิดขึ้นได้ และมักไม่ใช่อันตรายร้ายแรงค่ะ แต่หากมีอาการสำลักน้ำนมบ่อย ๆ และไม่ได้มีการรับมืออย่างถูกวิธี อาจส่งผลในระยะยาวต่อการใช้ชีวิตของลูกน้อยในอนาคตได้ เช่น แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร เวลาที่ลูกสำลักหรือสำรอกน้ำนมออกมา ก็มักจะมีกรดในกระเพาะอาหารออกมาด้วย หรืออาการกรดไหลย้อนในทารก อาการแสบร้อนกลางอก หากลูกมีอาการสำลักน้ำนมบ่อย ๆ
อาการทารกสําลักออกจมูก ส่งผลต่อชีวิตจริงหรือไม่
แม้ว่าการสำลักน้ำนมจะเปิดขึ้นได้บ่อยและมักไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าหากของเหลวที่ลูกสำลักไหลไปปิดกั้นหลอดลมหรือระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออก มีเสียงครืดคราด หายใจลำบาก ตัวเขียว หมดสติจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ
วิธีป้องกันเมื่อทารกสําลักออกจมูก
1.แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ให้นมลูกด้วยตัวเอง ไม่แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยค้ำ ยันขวดนม เพราะอาจทำให้น้ำนมไหลลงมาเร็วเกินไปจนเด็ก ๆ เกิดอาการสำลักออกจมูกได้
2.ให้ลูกนอนกินนมในท่าที่ถูกต้อง โดยควรเอียง 45 องศาเวลาดูดนม เพื่อให้น้ำนมไหลลงสู่กระเพาะได้ง่ายและสะดวกที่สุด
3.จับลูกเรอทุกครั้งหลังการกินนม โดยวิธีการอุ้มพาดบ่า หรือประคองลูกนั่งบนตักใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังขึ้นเบา ๆ เพื่อไล่ลม และการจับให้เด็กอยู่ในท่าศีรษะสูงกว่าลำตัว ช่วยให้น้ำนมไหลลงสู่กระเพาะได้ดียิ่งขึ้น ลดปัญหากรดไหลย้อน ลดอาการสำรอกหรือสำลักน้ำนม
4.คอยดูให้ลูกมีสมาธิกับการกิน ไม่มีอะไรมาทำให้วอกแวก เช่น ไม่เล่นกับลูกขณะที่ลูกดูดนม หรือให้นมลูกในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ช่วยให้ลูกดูดนมได้อย่างเป็นจังหวะต่อเนื่อง ไม่สะดุดจนเกิดอาการสำลักออกจมูกขณะกินนม
5.เลือกใช้ขวดนม-จุกนมที่เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการด้านการกินของลูก โดยขวดนมแต่ละยี่ห้อมักระบุว่าขวดไซส์นี้หรือจุกนมแบบนี้เหมาะกับเด็กวัยอายุกี่ปีนั่นเอง อ่านเรื่องการเลือกขวดนมแบบไหนดีได้ที่นี่ : ขวดนมแบบไหนดี
6.คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกน้อยดูดนมได้ในจังหวะที่พอดี คือ ภายในขวดควรมีฟองอากาศเล็ก ๆ ในขวดสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
ควรช่วยเหลือลูกอย่างไรเมื่อสำลักนมออกทางจมูก
หากลูกตกอยู่ในสถานการณ์สำลักนมออกจมูก ขอให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งสติ และปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้
1.ค่อย ๆ จับให้ลูกนอนในท่าตะแคง โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัว อย่าอุ้มลูกขึ้นทันทีนะคะ ที่ทำแบบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นมไหลย้อนกลับไปที่ปอด และจะช่วยขับน้ำนมออกมาได้ค่ะ
2.ถ้าวิธีแรกยังไม่ได้ผล ให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ในท่านั่งแล้วใช้มือหนึ่งประคองเด็กในท่าคว่ำหน้า ลำตัวพาดบนตัก ส่วนหัวของลูกให้อยู่ต่ำกว่าลำตัวหรืออยู่บริเวณระหว่างหัวเข่าของผู้ที่ทำการช่วยเหลือ ใช้อีกมือเคาะไปที่บริเวณหลังของลูกน้อยเพื่อขับน้ำนมที่ทำให้ลูกสำลักออกมา
ถ้าพบว่าลูกยังมีอาการหายใจติดขัด ลำบาก หรือมีเสียงครืดคราดเวลาหายใจ ให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
การที่ทารกสำลักของเหลวออกทางจมูก สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกทุกคนนะคะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรช่วยเป็นหูเป็นตา ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นบ่อย ๆ เพราะการที่ ทารกสำลักออกจมูก อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะทางเดินอาหารของลูกได้ในระยะยาว และยังช่วยลดความเสี่ยงของอาการสำลักที่อาจเป็นอันตรายรุนแรงได้อีกด้วย
———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/