ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า
นอกเหนือจากปัญหาอยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมดูดเต้าแล้ว อีกหนี่งปัญหาที่พบเจอได้บ่อยก็คือ ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า ทำให้คุณแม่มือใหม่ป้ายแดงนั้นอาจะยังไม่รู้วิธีรับมือเมื่อลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า ในบทความนี้เราจะลองไปดูกันค่ะว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า พร้อมกับแนะนำวิธีแก้ไขค่ะว่าควรทำอย่างไรเมื่อลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าค่ะ
สาเหตุที่ทำให้ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า
1.ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าเพราะน้ำนมแม่น้อย ดูดไม่ออก หรือน้ำนมไหลช้า เวลาดูดไม่ทันใจลูก
2.ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าเพราะลูกติดขวดนม ไม่ยอมเข้าเต้าแล้วงอแง หงุดหงิด
3.ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าเพราะลูกมีแก๊ส หรือลมในกระเพาะอาหารทำให้ไม่สบายตัว
4.ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าเพราะน้ำนมแม่ไหลเร็ว ดูดแล้วพุ่ง ทำให้ลูกกลืนไม่ทัน และอาจสำลักเวลาเข้าเต้าได้
5.ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าเพราะท่าให้นมไม่สบาย ดูดไม่ถนัด ทำให้เด็กมีอาการหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า
6.ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้าเพราะอากาศร้อน ไม่สบายเนื้อ ไม่สบายตัว หรือเด็กอาจมีไข้ไม่สบาย
อ่านเพิ่มเติม : ลูกไม่ยอมกินนม หรือ กินนมน้อย ต้องทำอย่างไร เกิดจากเหตุอะไรได้บ้าง
อาการเมื่อลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า
คุณแม่จะสังเกตได้ถึงอาการงอแง หงุดหงิดของลูกเวลาที่ให้กินนมจากเต้าแล้วเด็ก ๆ มีอาการต่อต้าน ซึ่งมักแสดงอาการดังต่อไปนี้
- ร้องไห้ งอแง อารมณ์หงุดหงิดไม่ยอมเข้าเต้า
- ถีบ ผลัก หรือแอ่นตัวออกจากอกแม่
- ทั้งร้องทั้งดิ้น บ่นเสียงพึมพำ
- เข้าเต้าได้ในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ร้องไห้งอแงแล้วเข้าเต้าใหม่ เป็นแบบนี้บ่อยครั้ง
- ลูกอมนมแต่ไม่ยอมดูด
วิธีแก้ไขเมื่อลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า
1.คุณแม่ที่คิดว่าสาเหตุที่ลูกหงุดหงิดไม่เข้าเต้ามาจากการที่ตัวเองน้ำนมน้อยเกินไป อาจลองปั๊มนมดูปริมาณน้ำนมดูว่ามีมากเกิน 1-2 ออนซ์หรือไม่ ถ้าปั๊มออกมาได้เกิน 1-2 ออนซ์ก็แปลว่าคุณแม่ไม่น่ามีปัญหาน้ำนมน้อยเกินไปค่ะ
แต่ถ้าพบว่าไม่มีน้ำนมหรือน้ำนมน้อยไปทำให้ลูกดูดไม่ออก ก็ลองหาอาหารเรียกน้ำนมมากิน และพยายามปั๊มเพื่อกระตุ้นน้ำนมบ่อย ๆ และปั๊มออกให้เกลี้ยงเต้า อย่าปล่อยให้นมคัดเต้า เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่องค่ะ
อ่านเพิ่มเติม : สุดยอด 10 ผัก ผลไม้บำรุงน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอดโดยเฉพาะ รับรองว่าเห็นผลชัวร์ 100%
2.คุณแม่ที่น้ำนมไหลช้า อย่าปล่อยให้ลูกหิวมาก ๆ ค่ะ เพราะจะยิ่งทำให้เวลาดูดนมแม่ น้ำนมไหลไม่ทันใจ ทำให้ลูกยิ่งหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า นอกจากนี้คุณแม่ก็ยังสามารถใช้เทคนิคที่จะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้นและไหลเร็วเพียงพอให้ลูกดูดได้สะดวกได้นะคะ
3.สำหรับคุณแม่ที่น้ำนมไหลแรง เร็ว หรือน้ำนมพุ่ง ให้คุณแม่ลองบีบน้ำนมออกจากเต้าก่อนเล็กน้อยก่อนให้ลูกเข้าเต้า เพื่อลดแรง หรือให้คุณแม่เปลี่ยนท่าให้นมในลักษณะกึ่งนั่งกึ่งนอน โดยให้คุณแม่เอนหลัง ให้ลูกอยู่ด้านบนอก เพื่อจัดตำแหน่งให้ลูกอยู่สูงกว่าเต้านมแม่ การดูดน้ำนมท่านี้จะลดแรงพุ่งของน้ำนมลงได้ค่ะ
4.จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ให้นมให้เหมาะสม ไม่มีเสียงดังรบกวนลูกและแม่ รวมทั้งควรจัดให้อยู่ในห้องที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทและไม่ร้อนจนเกินไป เพราะการให้นมแต่ละครั้งคุณแม่ต้องตัวติดแนบชิดกับลูกเป็นเวลานาน ถ้าอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว เด็ก ๆ ก็จะเกิดอาการไม่สบายตัว หงุดหงิดเวลาเข้าเต้าได้เช่นกัน
ลูกหงุดหงิดเวลาเข้าเต้า ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไรค่ะ คุณแม่อย่าเพิ่งนอยด์แล้วโทษตัวเองไปต่าง ๆ นา ๆ ลองสังเกตดูว่าสาเหตุที่เจ้าตัวเล็กมีอาการงอแงเวลาเข้าเต้าเกิดจากอะไร แล้วลองเรียนรู้และค่อย ๆ ปรับตัวกันไป เดี๋ยวก็จะดีขึ้นได้เองค่ะ
———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/