ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ลมเข้าท้องลูกหรือไม่ เป็นอันตรายกับลูกจริงไหม

ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ลมเข้าท้องลูกหรือไม่ เป็นอันตรายกับลูกจริงไหม ?

ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม 

คุณแม่หลายคนที่ให้ลูกดูดจุกหลอก หรือ  จุกนมเสมือนนมแม่ อาจจะเกิดความกังวลว่าลูกจะมีอาการท้องอืดไหม ในบทความนี้ Kind Minute จะพาคุณแม่ไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการ ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม กันค่ะ ว่าแล้วเราลองไปดูข้อมูลกันเลยค่ะ

ลูกดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม

ถ้าจุกหลอกที่ให้เด็ก ๆ ใช้นั้นได้มาตรฐาน ไม่เกิดรู หรือรอยรั่วบริเวณจุกที่ดูด ลมหรืออากาศภายนอกก็จะไม่เข้าในขณะใช้งานค่ะ และจุกหลอกส่วนใหญ่มักถูกออกแบบมาให้มีระบบระบายอากาศที่ดี ทำให้ไม่ดูดรับเอาแรงดันอากาศจากภายนอกเข้าสู่ท้องของเด็ก ดังนั้นจุกหลอกที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานไม่ใช่สาเหตุของการที่ลูกน้อยท้องอืดค่ะ

ลูกดูดจุกหลอก เป็นอันตรายกับลูกหรือไม่

ลูกดูดจุกหลอก เป็นอันตรายกับลูกหรือไม่

การให้ลูกน้อยใช้จุกหลอกอย่างปลอดภัย สามารถทำได้โดยการเลือกจุกหลอกที่ได้มาตรฐานมี มอก. ปราศจากสารเคมีอันตรายอย่าง สาร BPA และต้องเลือกขนาดของจุกหลอกให้เหมาะสมกับวัยเด็ก เท่านี้พ่อแม่ก็จะสามารถมั่นใจได้ว่า ลูกน้อยจะไม่ได้รับอันตรายจากการใช้จุกหลอกค่ะ

อ่านเพิ่มเติม : BPA Free คืออะไร  บอกเลยว่าพบได้บ่อยมาก ๆ ในของใช้เด็ก คุณแม่ต้องอ่าน !

การใช้จุกหลอกมีข้อดีหลายข้อ เช่น ทำให้เด็ก ๆ อารมณ์ดี ผ่อนคลาย ช่วยให้หยุดร้องไห้งอแงได้ ฯลฯ

แต่การที่ลูกติดจุกหลอก จากการใช้จุกหลอกเป็นเวลานาน ๆ ก็จะมีข้อเสียเช่นกัน แม้จะไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงแต่ก็มีผลต่อลูกน้อย พ่อแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการให้เด็ก ๆ ใช้จุกหลอกเป็นเวลานาน เพราะสามารถส่งผลเสียได้ดังนี้

  • ส่งผลเสียต่อสภาพช่องปาก การใช้จุกหลอกติดต่อกันเป็นเวลานาน มักเป็นสาเหตุทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการฟันเหยิน ฟันยื่น และฟันขึ้นเรียงตัวได้ไม่สวยงาม
  • เด็กติดจุกหลอกจนไม่ยอมเข้าเต้า
  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อหากไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดของจุกหลอกเป็นอย่างดี
  • เด็กติดจุกหลอกจนไม่เป็นอันทำอย่างอื่น ต้องมีจุกหลอกติดตัวตลอดเวลา หากไม่ได้ใช้ก็จะร้องไห้งอแง 

อ่านเพิ่มเติม : อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมดูดเต้า มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง พร้อมแนะนำวิธีแก้ไข

ลูกดูดจุกหลอก ลมจะเข้าท้องหรือไม่ 

หากคุณพ่อคุณแม่เลือกใช้จุกหลอกที่ผลิตได้มาตรฐาน หมั่นสังเกตประสิทธิภาพของจุกหลอกเสมอว่าไม่มีรอยรั่ว หรือรอยแตกบริเวณซิลิโคน-ยางตรงจุกดูด ก็สามารถมั่นใจได้ว่า  จะไม่เกิดแก๊ส หรือลมเข้าท้องจากการใช้จุกหลอกค่ะ 

สาเหตุที่ทำให้เกิดแก๊ส หรือลมภายในท้องลูกน้อย จนทำให้ลูกมีอาการท้องอืดนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น การดื่มนมช้า หรือเร็วเกินไป การที่ลูกดื่มนมจากขวดนมที่มีฟองอากาศ การร้องไห้เป็นระยะเวลานาน หรือพัฒนาการของระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่ดีพอ ไม่ใช่เพียงเพราะการใช้จุกหลอกเท่านั้นนะคะ ฉะนั้นแล้ว Kid Minute ก็หวังว่าบทความเรื่อง ดูดจุกหลอก ท้องอืดไหม ที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่-คุณพ่อทุกท่านนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *