วิธีเก็บน้ำนมแม่
คุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่นักปั๊มที่มีน้ำนมเยอะ ปั๊มน้ำนมแม่แล้วเก็บยังไงดี สต๊อกและรักษาน้ำนมไว้ยังไงให้น้ำนมคงคุณค่าไว้ให้ได้มากที่สุด วันนี้เรามาดู วิธีเก็บน้ำนมแม่ ที่จะทำให้เหล่าคุณแม่มั่นใจได้ว่าลูกจะได้กินนมที่มีสารอาหารเต็มเปี่ยมแน่นอน
วิธีเก็บน้ำนมแม่ที่ปั๊ม
เคล็ด (ไม่) ลับ มีวิธีเก็บน้ำนมแม่ยังไงดี ให้เก็บไว้กินได้นาน แถมคงคุณค่าสารอาหารไว้เต็มเปี่ยม
1.ทำความสะอาดขวดนม เครื่องปั๊มนมก่อนใช้งาน
ในการทำความสะอาดขวดนมเด็ก และเครื่องปั๊มนมแม่ ควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อนทุกครั้ง หรือแม้กระทั่งถุงเก็บน้ำนมก็ควรดูให้ดีว่าแห้งสนิท ไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมแม่ผสมกับของเหลวอื่น แล้วจะทำให้น้ำนมแม่เสียได้ง่าย
2.เก็บน้ำนมแม่ในถุงเก็บน้ำนม
ควรเก็บน้ำนมในถุงเก็บน้ำนมหรือภาชนะที่สามารถบรรจุน้ำนมได้พอดีต่อการใช้งานแต่ละครั้ง เพราะน้ำนมที่ถูกแช่แล้วนำมาอุ่นแล้ว ส่วนที่เหลือควรนำไปทิ้งไม่ควรนำกลับไปแช่เพื่อใช้ต่อนะคะ เพราะน้ำนมอาจเน่าเสียได้ไม่ควรให้ลูกกินส่วนที่เหลืออีก
3.เก็บน้ำนมในถุงเก็บน้ำนมที่มีคุณภาพ
โดยเลือกถุงเก็บน้ำนมที่ผลิตจากถุงพลาสติกคุณภาพดี หนา และทนทาน ไม่แตกง่าย ปราศจากสาร BPA ให้สังเกตตรงขอบซีลควรมีความหนาเพื่อป้องกันการปริ แตก ของถุงเก็บนม และเลือกถุงแบบมีซิปล็อคสองชั้น เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยว่าจะไม่มีอะไรเข้าไปเจือปนได้
อ่านเพิ่มเติม : BPA Free คืออะไร บอกเลยว่าพบได้บ่อยมาก ๆ ในของใช้เด็ก คุณแม่ต้องอ่าน !
4.เก็บน้ำนมแม่ไว้ในที่ที่เหมาะสม
แน่นอนว่าน้ำนมที่ปั๊มใหม่จะมีคุณค่าสารอาหารที่เต็มเปี่ยมกว่าน้ำนมที่ปั๊มทิ้งไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามคุณแม่มักต้องปั๊มน้ำนมทิ้งไว้ เพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนม และยังเป็นการปั๊มไว้สต๊อกให้ลูกกิน ซึ่งเหมาะกับคนที่มีน้ำนมน้อยอย่างมากๆ การเก็บน้ำนมในอุณหภูมิที่เย็นและเหมาะสมจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของน้ำนมไว้ให้เราได้ค่ะ
วิธีแช่นมแม่ในตู้เย็นเพื่อรักษาคุณภาพน้ำนม
- ปั๊มนมเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด โดยแนะนำให้เก็บน้ำนม หรือ สต๊อกน้ำนม ไว้ในถุงเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ
- เขียนวันที่ เวลาในการปั๊มนมกำกับไว้บนถุงน้ำนม เพื่อที่เวลาหยิบใช้จะได้หยิบน้ำนมที่ปั๊มไว้นานกว่าออกมาใช้ก่อนจะได้ไม่เน่าเสียไป
- แนะนำให้แช่น้ำนมในตู้แช่น้ำนมต่างหาก เพราะควรเก็บน้ำนมแม่ไว้ในอุณหภูมิคงที่ ตู้เย็นที่เปิดเข้า-ออกบ่อยๆ อาจไม่เหมาะนัก
อย่างไรก็ตามหากไม่มีตู้แช่แยกต่างหาก ให้เก็บน้ำนมไว้ในช่องฟรีซหรือส่วนของตู้เย็นที่ไม่ค่อยได้มีการเปิดใช้งานบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการแช่สต๊อกน้ำนมบริเวณประตูตู้เย็น เพราะเป็นบริเวณที่อุณหภูมิไม่คงที่มากที่สุด
- อุณหภูมิในการแช่น้ำนม
- เก็บน้ำนมในอุณหภูมิห้องไม่เกิน 25°C นมแม่จะสามารถอยู่ได้นานไม่เกิน 4 ชั่วโมงหลังจากปั๊ม
- เก็บน้ำนมแม่ในอุณหภูมิ 2-4°C หรือต่ำกว่านั้น น้ำนมจะสามารถอยู่ได้นานถึง 2-5 วัน
- กรณีเก็บนมไว้ในช่องแช่แข็งที่คงที่อุณหภูมิประมาณ -4°C น้ำนมแม่จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 4-6 เดือนค่ะ และหากแช่ไว้ในตู้เย็นแช่แข็งแบบเย็นจัดอุณหภูมิประมาณ -19°C จะสามารถเก็บนมแม่ได้นานถึง 6-12 เดือนเลยค่ะ
อ่านเพิ่มเติม : ถุงเก็บน้ำนม ใส่นม สำหรับปั๊มนม ใช้ได้กี่ครั้ง ใช้ซ้ำได้ไหม เลือกแบบไหนดีที่สุด
วิธีปั๊มนมแม่ แบบที่คุณแม่มือใหม่ทำตามได้
- เตรียมสถานที่ปั๊มนม โดยควรหาที่สงบๆ มีที่นั่งสบายๆ ให้กับคุณแม่ผ่อนคลายในขณะที่ปั๊มนม
- ก่อนปั๊มนมแม่ควรล้างมือให้สะอาด และทำความสะอาดเต้านมด้วยสำลีปลอดเชื้ออเนกประสงค์ หรือใช้สำลีชุบน้ำเช็ดเบาๆ รอบบริเวณเต้านม และปล่อยให้แห้ง
- เตรียมอุปกรณ์ในการปั๊มนมให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั๊มนม ขวดนม หรือถุงเก็บน้ำนมเป็นต้น
- นวดคลึงเต้านมหรือใช้แผ่นซิลิโคนสำหรับประคบเต้านมให้อุ่นเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
- เมื่อปั๊มนมเสร็จให้สต๊อกน้ำนมเก็บไว้ในภาชนะที่ลูกกินหมดพอดีสำหรับ 1 มื้อ ปิดภาชนะให้มิดชิด เขียนวันและเวลาปั๊ม
เอาล่ะค่ะ วิธีการเก็บน้ำนม ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดเลยใช่มั้ยคะ ยิ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยให้การเก็บน้ำนมทำได้ง่ายและปลอดภัยอย่างสุดๆ แบบนี้.. สบายใจหายห่วงกับการปั๊มน้ำนมแม่ สต๊อกน้ำนมไปได้เลย 😊
หากไม่รู้ว่าจะเลือกถุงเก็บน้ำนมแม่ หรือ เครื่องปั๊มนมแม่แบบไหนดี ก็สามารถคลิกดูสินค้าจากเว็บไซต์ Kid Minute ผ่านช่องทางด้านล่างได้เลยนะคะ มีของใช้เด็ก และของใช้คุณแม่ ให้เลือกมากหายหลายแบรนด์ดังชั้นนำ สั่งซื้อง่าย รวดเร็ว กล้าการันตรีเลยว่าของแท้ 100% จาก Official Brand แน่นอน ปลอดภัยต่อการใช้งานสำหรับลูกน้อยมากจริงๆ ค่ะ 👇
———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/