เก็บรักษานมแม่ ด้วยวิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่แบบไหนดีที่สุด

แนะนำ วิธีการเก็บรักษาน้ำนมแม่ ที่ได้ผลดีที่สุด พร้อมสิ่งที่ไม่ควรทำขณะเก็บนมแม่

การเก็บรักษาน้ำนมแม่

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ เป็นเทคนิคที่ช่วยรักษาคุณค่าและสารอาหารที่มีในน้ำนมแม่ไว้ให้ได้มากที่สุดนั่นเอง นอกจากนี้การเก็บน้ำนมได้อย่างถูกวิธี จะช่วยยืดอายุของน้ำนมให้ยาวนานยิ่งขึ้น ทำให้ลูกได้ดื่มนมแม่ และรับสารอาหารที่ทรงคุณค่านี้ไปได้อีกนานเลยค่ะ  

วิธีเก็บรักษานมแม่

สำหรับวิธีการเก็บรักษาน้ำนมแม่ ก็จะมีดังนี้

1.เทคนิคการบีบนมแม่

เทคนิคการบีบน้ำนมด้วยมือ

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนทำการบีบน้ำนม
  • เตรียมถุงน้ำนม หรือภาชนะรองน้ำนมไว้ให้พร้อม
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบที่เต้านมก่อนเริ่มบีบ จากนั้นนวดคลึงเต้านมเบา ๆ เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยนวดวนเบา ๆ บริเวณเต้านมเริ่มจากฐานเต้านมเข้าหาหัวนม และใช้นิ้วดึงหัวนมเบา ๆ 
  • เริ่มบีบน้ำนมด้วยมือโดยการวางนิ้วหัวแม่มือที่ด้านบนของหัวนม นิ้วชี้และนิ้วกลางวางด้านล่างตรงข้างกับนิ้วหัวแม่มือ ลักษณะคล้ายเป็นรูปตัว C และวางตำแหน่งนิ้วให้ห่างจากโคนหัวนมประมาณ 2.5 -3.0 ซ.ม.
  • เมื่อวางนิ้วได้ตำแหน่งแล้ว ออกแรงกดนิ้วเข้าหาตัวอย่างค่อย ๆ จากนั้นดันนิ้วหัวแม่มือด้านบนไล่ลงมายังโคนหัวนม ระหว่างนั้นให้ผ่อนแรงนิ้วชี้และนิ้วกลาง วิธีนี้จะช่วยรีดน้ำนมออกจากเต้าได้ดี คล้ายการดูดของทารกค่ะ 
  •  ควรบีบน้ำนมสลับกันไปมาทั้งสองข้าง เมื่อเต้านมเริ่มนิ่มลง และไม่มีน้ำนมไหลออกมาแล้วก็สามารถหยุดบีบน้ำนมได้ ส่วนมากการบีบน้ำนมจะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

เทคนิคการบีบน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนม 

  • เลือกเครื่องปั๊มนมที่มีคุณภาพ ใช้งานง่ายและสะดวก จะช่วยให้การปั๊มน้ำนมทำได้ง่ายขึ้นค่ะ
  • ล้างมือและอุปกรณ์เครื่องปั๊มนมให้สะอาดก่อนใช้งานทุกครั้ง 
  • วางกรอยเต้าของเครื่องปั๊มนมให้อยู่ในตำแหน่งตรงกลางหัวนมพอดี
  • ใช้มือข้างตรงข้ามกับเต้านมที่ปั๊ม ประคองเต้านมกับกรวยปั้ม และพยายามอย่าออกแรงกดจนเกินไป อาจทำให้เกินบาดแผลหรืออาการปวดขึ้นได้
  • ปรับความเร็วและอัตราการปั๊มนมตามคำแนะนำของเครื่องปั๊มนมที่เลือกใช้งาน โดยควรเริ่มปั๊มจากความเร็วและอัตราการปั้มจากต่ำไปก่อน เมื่อน้ำนมเริ่มไหลคงที่ ใช้เวลาประมาณ 1-3 นาที และคุณแม่ไม่มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณเต้านมจึงเพิ่มความเร็ว เพิ่มแรงปั๊มและอัตราการปั๊มขึ้นตามลำดับค่ะ 
  • การปั้มนมด้วยเครื่องปั้มนมมักใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที 

อ่านเพิ่มเติม : การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีข้อดีอย่างไร สำคัญแค่ไหน พร้อมปัญหาที่พบเจอจริง ๆ เมื่อลูกกินนมแม่

2.วิธีเก็บรักษานมแม่ด้วยการแช่ตู้เย็น

  • เก็บรักษาน้ำนมในถุงเก็บน้ำนม หรือภาชนะที่สะอาดและปิดสนิท เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปเจือปนในน้ำนม
  • ควรเหลือที่ในภาชนะไว้บางส่วน อย่าบรรจุน้ำนมจนเต็มภาชนะ เพราะถ้าแช่น้ำนมจนแข็ง น้ำนมจะขยายตัวขึ้นอีกเล็กน้อยค่ะ 
  • แบ่งน้ำนมไว้ในภาชนะตามปริมาณที่ลูกพอกินในแต่ละครั้งเท่านั้น เพราะหากนำน้ำนมมาอุ่นหรือละลายแล้ว ส่วนที่เหลือจากการละลายควรทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาเก็บไว้กินในครั้งต่อไป  
  • เขียนวันที่ในการปั้มนมกำกับไว้ที่ภาชนะ และควรหยิบใช้น้ำนมจากวันที่เก่าที่สุดก่อน 
  • นมที่ยังไม่ใช้ภายใน 2-3 วันควรแช่แข็งไว้ เพื่อป้องกันการเน่าเสีย
  • ถ้าเป็นไปได้ควรแช่น้ำนมในตู้เย็นแยกต่างหากจากตู้ที่ใช้ประจำ เพราะการปิดเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ ทำให้อุณหภูมิภายในตู้ไม่คงที่ อาจทำให้น้ำนมเน่าเสียได้ 
  • น้ำนมที่จะใช้ภายใน 8 วันหลังปั๊ม สามารถแช่ในช่องธรรมดาได้ ไม่ต้องแช่แข็งค่ะ
  • น้ำนมที่เก็บไว้ในตู้แช่แข็งโดยเฉพาะ อุณหภูมิประมาณ -19 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือนหรือมากกว่าทีเดียวค่ะ และจะลดระยะเวลาในการเก็บได้น้อยลงในอุณภูมิที่ต่ำลง 
  • เก็บน้ำนมในตู้เย็นในช่องแช่แข็ง อุณภูมิประมาณ -4 องศาเซลเซียส แบบคงที่ สามารถเก็บได้ 4-6 เดือนค่ะ  

3.วิธีเก็บรักษาน้ำนมด้วยวิธีอื่น ๆ

คุณแม่สามารถ เก็บรักษาน้ำนม ด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ แต่การแช่เย็นในอุณหภูมิต่ำ จะช่วยเก็บรักษาคุณภาพ และช่วยยืดอายุของน้ำนมออกไปอีกได้นานกว่าค่ะ โดยวิธีอื่น ๆ ในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ ได้แก่

  • เก็บรักษานมแม่ด้วยการวางไว้ในอุณหภูมิห้อง ถ้าอากาศเย็น อุณหภูมิห้องประมาณ 19-22 องศาเซลเซียส น้ำนมสามารถอยู่ได้โดยไม่เน่าเสียประมาณ 10 ชั่วโมง หรือถ้าอยู่ในอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ 
  • เก็บรักษานมแม่โดยใส่น้ำนมในกระติกน้ำแข็ง อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บได้นานประมาณ 24 ชั่วโมงหรือ 1 วัน

การเก็บน้ำนมแม่แบบไหน ที่ไม่ควรทำ

เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนมให้คงคุณค่าสารอาหาร และภูมิคุ้มกันที่มีในน้ำนมแม่ให้มากที่สุด และเป็นการช่วยรักษาระยะเวลาในการเก็บน้ำนม คุณแม่ไม่ควรเก็บเก็บรักษาน้ำนม ในลักษณะดังต่อไปนี้ 

  1. เปิดปิดตู้เย็นบ่อย ๆ จะทำให้อุณหภูมิไม่คงที่ อาจทำให้น้ำนมเน่าเสียได้
  2. ละลายน้ำนมแล้วใช้ไม่หมด และนำกลับมาแช่เย็นใหม่เพื่อใช้ต่อ ลักษณะนี้ก็ไม่ควรทำ เพราะอาจทำให้น้ำนมเน่าเสียได้ง่าย หรือลูกดื่มนมที่เหลือจากการละลายครั้งแรกแล้วอาจไม่สบายได้ค่ะ 
  3. นำนมที่ลูกกินแล้วเหลือกลับมาแช่เย็นเพื่อใช้ต่อในครั้งต่อไป ซึ่งจะคล้ายกับข้อสอง ยิ่งถ้าใช้ภาชนะที่ลูกดูดนมแล้วกลับมาแช่แล้วใช้ต่อ จะเสี่ยงต่อเชื่อโรค และแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจเจื่อปนอยู่ในน้ำนมที่ดื่มแล้วอีกด้วย

น้ำนมแม่ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์อย่างมากต่อลูกน้อย การเก็บรักษาน้ำนมแม่ ให้คงคุณค่าได้มากที่สุดเหมือนทารกได้ดูดออกจากเต้า จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นเทคนิคที่คุณแม่ควรทราบ เพื่อที่จะได้มีน้ำนมคุณภาพดีให้ลูกได้ดื่มไปนาน ๆ ค่ะ 

———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *