เล่นกับลูกอย่างไรดี แนะนำวิธีการเล่นกับลูก 1 3 5 4 ขวบ 3 เดือน

เล่นกับลูก อย่างไรให้เป็นเด็กที่ฉลาด และอารมณ์ดี พร้อมสิ่งที่ต้องรู้

เล่นกับลูก

การเล่นกับลูก เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ดีอย่างหนึ่ง และนอกจากจะช่วยสร้างรอยยิ้ม ความสุขใจให้คนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว การเล่นกับลูกยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยในการสร้างเสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยทั้งด้านสติปัญญา ตลอดจนด้านอารมณ์ด้วยค่ะ

วันนี้ Kidminute จะมาแนะนำการเล่นกับลูกน้อยอย่างไรให้ได้ทั้งประโยชน์ และความสุขของทั้งครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับลูก 1 ขวบ 5 ขวบ 3 เดือน หรือว่าอายุเท่าไหร่ก็ตาม ก็สามารถนำวิธีการเล่นกับลูกนี้ไปใช้ได้แน่นอน เราไปดูกันเลยค่า 

เล่นกับลูกได้ช่วงไหนดี

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่า จะเริ่มเล่นกับลูกน้อยได้ช่วงไหนถึงจะดีที่สุด ก็ต้องบอกว่าสามารถเล่นได้ตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไปเลยค่ะ แต่จะต้องเล่นกับลูกให้เหมาะสมกับช่วงอายุที่ต่างกัน ยิ่งลูกโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็จะสามารถหยอกล้อและเล่นกับลูกน้อยได้มากขึ้น ลูกก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับพ่อแม่มากขึ้นด้วย โดยแบ่งช่วงอายุของเด็กดังนี้ 

  • ทารกแรกเกิด ถึง 6 เดือน : เด็กในวัยนี้ ร่างกายยังไม่มีความแข็งแรง การเล่นกับลูก ๆ  ช่วงนี้มักเน้นไปที่การพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น แขน ขา ตา เป็นต้น เหมาะกับการให้เด็กเรียนรู้ ใช้สายตามอง ใช้แขนขายขยับไขว่คว้าสิ่งรอบตัว เช่น โมบายสี 
  • วัย 6 ถึง12 เดือน : เด็กวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 12 เดือน จะเป็นช่วงของการตั้งไข่ คลาน เริ่มนั่งได้ด้วยตัวเอง หรือกำลัง หัดเดิน หัดยืน เด็กวัยนี้สามารถขยับแขนขาร่างกายได้มากขึ้นแล้วค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจ เล่นกับลูก ได้มากขึ้น เช่น การซ่อนหาของ การให้ลูกหยิบจับของให้ 
  • วัย 1-2 ขวบ : เด็กในวัยนี้ส่วนมากจะเริ่มเดินได้แล้วค่ะ สิ่งที่เด็กวัยนี้ชอบก็คือ การเดิน การผลักหรือดันสิ่งของไปข้างหน้า การหยิบของใส่กล่อง กลิ้งลูกบอล ในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ก็จะสามารถหาสิ่งของที่เสริมพัฒนาการอย่าง บล็อคไม้ ภาพตัวต่อสำหรับเด็กมาให้ลูก ๆ เล่นได้ 
  • วัย 2 ขวบ : ในวัย 2 ขวบ เด็กมักเดินได้คล่องแคล่วว่องไวทีเดียวค่ะ ปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อพ่อแม่ก็มีมากขึ้น เด็ก ๆ เข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่สื่อสารมากขึ้น สามารถแสดงท่าทางสื่อสารถึงสิ่งที่ต้องการได้ เช่น หิว กระหายน้ำ อยากเข้าห้องน้ำ เริ่มพูดได้เป็นวลีสั้น ๆ  แยกแยะรูปทรง สี ชื่อสัตว์สิ่งของออก 
  • วัย 3 ขวบ : วัยที่เด็กมักแสดงความเป็นตัวของตัวเองให้คุณพ่อคุณแม่เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เริ่มมีความต้องการ มีความคิดที่เป็นตัวของตัวเองและแสดงออกให้คุณพ่อคุณแม่เห็น สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 2-3 ขั้นตอน เข้าใจการบอกตำแหน่ง เริ่มพูดสนทนาได้เป็นประโยค

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการเล่นกับลูก

หากคุณพ่อคุณแม่อยากใช้เวลาเล่นกับลูกให้เกิดประโยชน์ เป็นการเสริมสร้างทักษะ และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ไปในตัว Kidminute อยากแนะนำเทคนิคการเล่นกับลูกที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ได้แก่

  1. ของเล่นราคาแพงไม่ได้ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้มากกว่า 
  2. อย่าตีกรอบให้ลูกมากจนเกินไป ยิ่งเวลาที่เด็กเล่น ควรปล่อยให้ลูกใช้จินตนาการให้เต็มที่ เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการความคิดด้านต่าง ๆ
  3. การให้อิสระทางด้านความคิด การแสดงออกของลูกเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรหมั่นดูแลความเหมาะสมและความถูกต้องต่าง ๆ ไม่ให้กลายเป็นว่าลูกอย่างทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ พ่อแม่ต้องคอยสอนและลงโทษหากจำเป็นถ้าลูกทำผิด 
  4. อย่าเคี่ยวเข็ญ กดดันให้ลูกมีพัฒนาการเหมือนเด็กคนอื่น ๆ เด็กบางคนมีพัฒนาการช้ากว่า เช่น เดินช้ากว่า พูดช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ขอให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็น ๆ ช่วยลูกน้อยด้วยการหากิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านนั้น ๆ ให้กับลูก เล่นกับลูก และให้เวลาเด็กได้เรียนรู้ หากเลยช่วงอายุมานานเกินและกังวลใจก็ให้ปรึกษาแพทย์ว่ามีความผิดปกติอย่างไรกับลูกหรือไม่ และจะช่วยเหลือลูกได้วิธีไหนบ้าง  
  5. ในขณะที่ลูกน้อยต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว พ่อแม่ก็ต้องเปิดใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในตัวลูกเช่นกัน อย่าละเลยความรู้สึกหรือความต้องการของลูกที่เด็ก ๆ อาจแสดงออกมา หรือบอกเราในวิธีของเขา 
  6. ให้ความยอมรับในตัวตนของลูก เด็กบางคนอาจมีวิธีคิด วิธีการทำอะไรบางอย่างต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งหากไม่ทำให้ใครเดือดร้อน หรือส่งผลเสียต่อตัวเด็กและคนอื่น ๆ พ่อแม่ก็ควรที่จะสนับสนุนและพร้อมเข้าใจตัวตนของลูก
  7. อย่าหงุดหงิดหรืออารมณ์เสียเมื่อต้องตอบคำถามลูกซ้ำ ๆ ให้ตอบคำถามลูกด้วยความรัก ความเอาใจใส่

เล่นกับลูกอย่างไรให้เหมาะสม

เล่นกับลูกอย่างไรให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถทำตามได้ดังนี้เลยคร้าาาา

  1. เล่นกับลูกให้เหมาะสมกับช่วงอายุ เพราะเด็กแต่ละวัยก็มักมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เช่น ทารกแรกเกิด พ่อแม่อาจเริ่มเล่นกับลูกได้ด้วยการพูดคุย สัมผัสเบา ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาการพื้นฐานเกี่ยวกับเสียง การมองเห็น ความรู้สึกจากการสัมผัสเป็นต้น เมื่อเริ่มเติบโตขึ้น ก็เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ ตามพัฒนาการของลูก
  2. เล่นกับลูกโดยให้ลูกเรียนรู้จากธรรมชาติ อย่าลืมหาโอกาสพาลูกน้อยไปสัมผัสและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากธรรมชาติ เช่น การเดินเล่นที่สวนภายในบ้าน การพาลูกไปเที่ยวภูเขา ทะเล ให้ได้สัมผัสก้อนหิน ดิน ทราย การเล่นกับลูกแบบนี้เป็นการฝึกให้เด็กมีความช่างสังเกตธรรมชาติต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว
  3. บรรยากาศที่อบอุ่นภายในครอบครัว คือ สภาพแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ของลูกได้เป็นอย่างดี 
  4. ใช้สื่ออย่างของเล่นช่วยเสริมสร้างจินตนาการ พัฒนาการและการเรียนรู้ ของเล่นสำหรับเด็ก ๆ หลายอย่างถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นจินตนาการของเด็ก ๆ และแฝงด้วยวิธีเสริมสร้างพัฒนาการต่าง ๆ เช่น บล็อกไม้หลากสีสันรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถซื้อของเล่นเหล่านี้มาเล่นกับลูกได้
  5. แม้ในช่วงเวลาเล่นของลูก ๆ พ่อแม่ก็ไม่ควรให้ลูกอยู่ห่างสายตาและความดูแลของผู้ใหญ่ เพื่อที่จะได้คอยระมัดระวังความปลอดภัยระหว่างเล่นสนุกของลูกน้อย และยังคอยช่วยเหลือ ตอบคำถามที่ลูกสงสัย ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับลูกได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ
  6. การเล่นกับลูกด้วยการสร้างสมมุติบทบาท จะช่วยเพิ่มจินตนาการความสร้างสรรค์ของลูกน้อย เช่น การสวมบทบาทของคุณพ่อคุณแม่ในระหว่างการเล่านิทาน การใช้ตุ๊กตาเล่าเรื่องหรือพูดคุยถาม-ตอบกับลูกน้อย 
  7. จัดเตรียมสภาพแวดล้อม บรรยากาศให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ และการเล่นกับลูก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเมื่อเล่นกับเป็นหลัก

ถ้าพูดถึงการเล่นกับลูก คงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากพลาดช่วงเวลาอันมีค่านี้ไปเลยใช่มั้ยคะ ?  Kidminute อยากฝากคุณพ่อคุณแม่ไว้ว่าการ เล่นกับลูก ช่วยทั้งสร้างความอบอุ่นให้กับคนในครอบครัวได้แล้ว ยังช่วยในเรื่องของพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้เติบโตไปเป็นเด็กฉลาดและอารมณ์ดีได้อีกด้วยนะคะ

———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *