คนท้องฟันผุ ตอนตั้งครรภ์เกิดจากสาเหตุอะไร ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยจริงหรือไม่

คนท้องฟันผุ ตอนตั้งครรภ์เกิดจากสาเหตุอะไร ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยจริงหรือไม่ ?

คนท้องฟันผุ

การที่หญิงตั้งครรภ์นั้นมีอาการฟันผุตอนท้อง ถือว่าเป็นอาการที่คุณแม่หลายท่านเป็นกันอย่างมาก ๆ ค่ะ ทำให้เกิดความกังวลใจได้ว่าการที่ คนท้องฟันผุ นั้นเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในท้องหรือไม่ ในบทความนี้ Kidminute จะลองพาทุกท่านไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องคนท้องฟันผุกันค่ะ ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ส่งผลกระทบกับลูกน้อยหรือไม่ พร้อมแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวมีคนท้องฟันผุค่ะ

ทำไมคนท้องถึงมีอาการฟันผุร่วมด้วย

  • ฟันผุตอนท้องเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้ให้ผนังเส้นเลือดฝอยในเหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปากอ่อนแอ นำไปสู่อาการเหงือกอักเสบ บวม แดง หรือมีเลือดออกได้ง่าย
  • ฟันผุตอนท้องเพราะความเปลี่ยนแปลง และความอ่อนแอ ที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ทำให้การดูแลรักษาทำความสะอาดมีความยากมากขึ้น เช่น แปรงฟันแล้วมีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย 
  • ฟันผุตอนท้องเพราะคุณแม่บางท่านมีหินน้ำลายหรือหินปูน ส่งผลให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายมากขึ้น
  • ฟันผุตอนท้องเพราะเกิดจากการกินอาหารจุบจิบ กินหลายมื้อต่อวันในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์
  • ฟันผุตอนท้องเพราะมีอาการแพ้ท้อง เช่น การอาเจียน ทำให้เศษอาหาร และกรดในกระเพาะต่าง ๆ ขึ้นมาติดค้างในบริเวณช่องปากและฟัน

คนท้องฟันผุ ช่วงอายุครรภ์กี่เดือน 

คุณแม่สามารถเริ่มมีอาการปวดฟัน หรืออาการฟันผุได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้เลยค่ะ ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในร่างกาย ตลอดจนการที่คุณแม่แพ้ท้องหนักในช่วงระยะนี้ และยังมีปัจจัยมาจากสภาวะทางช่องปากของคุณแม่ด้วย เช่น คนที่มีหินปูนอยู่มากในช่องปาก อาจทำให้มีอาการฟันผุได้เร็ว เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียสะสมได้มากกว่า 

หญิงตั้งครรภ์ฟันผุตอนท้องทุกคนหรือไม่

จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 90.3 พบอาการฟันผุตอนท้อง โดยพบค่าเฉลี่ยในการถอนฟัน-อุดฟัน เนื่องจากสาเหตุของอาการฟันผุตอนท้องมากถึง 6.37 ซี่ต่อคนเลยทีเดียวค่ะ 

คุณแม่ฟันผุตอนท้อง ส่งผลกระทบกับลูกน้อยหรือไม่

คุณแม่ฟันผุตอนท้อง ส่งผลกระทบกับลูกน้อยหรือไม่

คุณแม่ที่มีอาการฟันผุ สามารถส่งผลให้ลูกน้อยได้รับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคฟันผุได้เช่นกัน เป็นการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ทางหนึ่งค่ะ

การติดเชื้อในช่องปากเรื้อรัง (โรคปริทันต์) ทั้งจากโรคฟันผุ หรือโรคเหงือกยังอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกคลอดทารกต่ำกว่าเกณฑ์ได้อีกด้วย

ฟันผุตอนท้อง ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี

หากพบว่ามีอาการฟันผุตอนท้อง หรือเหงือกอักเสบแล้วต้องการรักษาฟันโดยทันตแพทย์ มีข้อบ่งชี้ว่าสามารถทำได้ โดยช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมต่อการทำฟัน คือ ในช่วงไตรมาสที่ 2 เพราะในระยะนี้คุณแม่จะไม่มีอาการแพ้ท้องแล้ว สามารถรักษาฟันได้สบาย ๆ ค่ะ 

ส่วนการอุดฟันผุ การครอบฟัน การขูดหินปูน การเคลือบฟลูออไรด์ การถอนฟัน มักจะสามารถทำการรักษาได้เลยค่ะ

ส่วนการรักษารากฟัน การผ่าฟันคุด หรือการถอนฟัน บางกรณีต้องให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาถึงความเร่งด่วน หากไม่เร่งด่วน ทันตแพทย์อาจให้รอหลังคลอดได้ 

นอกจากนี้ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ยังควรดูแลรักษาช่องปากให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงของอาการฟันผุต่าง ๆ ดังนี้

1.หมั่นดูแลสุขภาพภายในช่องปาก แปรงฟันให้สะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหาร 

2.นอกจากการแปรงฟัน ให้ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ และเศษอาหารต่าง ๆ

3.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของคนท้องโดยเฉพาะ หรือยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุได้

4.เสริมแคลเซียมและเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีให้มากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกซึ่งรวมไปถึงฟันด้วย 

5.หากมีอาการปวดฟันตอนท้องให้เข้ารับการตรวจฟันได้ตามปกติ ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำฟัน คือ เดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์

หาก คนท้องฟันผุ ที่ทราบอาการเร็ว ก็แนะนำให้วางแผนการรักษา โดยรีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และดำเนินการรักษาให้เร็วที่สุดจึงจะเป็นผลดีนะคะ เพราะถ้าปล่อยให้นานเข้า คุณแม่เริ่มมีร่างกายที่ใหญ่ขึ้น ท้องที่ขยายใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้ารับการรักษาได้นั่นเองค่ะ

———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *