โปรแลคติน
โปรแลคติน ถือเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ที่มีผลโดยตรงต่อคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนอยากจะมีบุตรค่ะ เพราะความผิดปรกติของฮอร์โมนโปรแลคตินดังกล่าว สามารถส่งผลไปถึงปัญหาด้านการตั้งครรภ์หรือการมีบุตรต่าง ๆ ทั้งต่อคุณพ่อและคุณแม่เอง แถมยังมีผลกับการผลิตน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรด้วย
คำถามเกี่ยวกับโปรแลคตินและการตั้งครรภ์
1.โปรแลคติน คืออะไร
ตอบ : โปรแลคติน คือ ฮอร์โมนประเภทหนึ่งที่เป็น single-chain peptide hormone1 สาร Prolactin หรือ PRL เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรตีน มีโครงสร้างคล้ายกับโกรทฮอร์โมน ประกอบด้วย อะมิโน แอซิด (amino acid) 199 ตัว ผลิตออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งของต่อมน้ำนม รวมทั้งช่วยควบคุมการตกไข่ ทำให้สตรีมีระดูปกติสม่ำเสมอ
2.โปรแลคตินสูง มีอาการอย่างไร
ตอบ : ภาวะที่ระดับ ฮอร์โมนโปรแลคตินสูง หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์โพรแลคตินอีเมีย (hyperprolactinemia)” มักพบในผู้หญิงวัยก่อนหมดระดู คือ มีค่าโปรแลคตินในกระแสเลือดสูงกว่าปรกติ การที่มีโปรแลคตินสูงมักส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้
- มีอาการน้ำนมไหลผิดปรกติ ทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมแม่
- ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามากกว่าปรกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ
- มีภาวะการมีลูกยาก เนื่องจากภาวะโปรแลคตินในเลือดสูงส่งผลต่อรอบการตกไข่
- มีอาการปากช่องคลอด และช่องคลอดแห้งบาง
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- ในผู้ชายอาจมีภาวะโปรแลคตินสูงด้วยเหมือนกัน ทำให้มีปัญหาเชื้ออสุจิผิดปกติ และความรู้สึกทางเพศลดลงได้
3.การมีฮอร์โมนโปรแลคตินสูง ทำให้มีลูกยากหรือไม่
สำหรับผู้ที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรแลคตินสูง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีภาวะมีบุตรยาก เช่นผู้หญิงที่มีโปรแลคตินสูงผิดปรกติ จะพบปัญหาประจำเดือนมามากผิดปรกติ ประจำเดือนไม่มาเลย หรือไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่อย่าง PRL ทำงานไม่เหมือนเดิม
เมื่อการตกไข่ไม่เป็นไปตามปกติก็ส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยากตามมา ในส่วนของผู้ชาย ฮอร์โมน โปรแลคติน ที่มีมากในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีปัญหาในการผลิตอสุจิ รวมทั้งทำให้ความต้องการทางเพศลดลง ทำให้มีบุตรยากได้เช่นกัน
4.โปรแลคตินมีหน้าที่อะไร
- โปรแลคตินมีหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์น้ำนม (lactogenesis) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทารก
- โปรแลคตินมีหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมหลั่งน้ำนมออกมา ซึ่งจะหลั่งออกมาวันที่ 3-4 หลังคลอด
- โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ คือ เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในช่วงการตั้งครรภ์ และเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในสัญชาตญาณของการเป็นมารดา
5.ค่าปกติของฮอร์โมนโปรแลคตินอยู่ที่เท่าไหร่
ค่าปกติของฮอร์โมนโปรแลคติน คือ < 15 – 20 ng/mL
6.วิธีเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคติน ทำได้อย่างไรบ้าง
วิธีการช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคติน สามารถทำได้ด้วยการกระตุ้นเต้านม เพื่อเพิ่มปริมาณการหลั่งฮอร์โมนต่อมใต้สมอง โดยวิธีการนวดคลึงเต้านม ปั๊มนม หรือให้ลูกดูดเต้า เป็นต้น
เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นในลักษณะนี้ก็จะมีคำสั่งการไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้โปรแลคตินถูกสร้างจากต่อมส่วนหน้าขึ้นมาค่ะ
7.โปรแลคตินสูงอันตรายหรือไม่
สำหรับผู้ที่พบปริมาณ โปรแลคติน สูงผิดปรกติ ส่งผลกระทบทำให้มีน้ำนมไหลออกมาผิดปกติ มีรอบระดูผิดปกติ มีภาวะมีบุตรยาก และถ้าสาเหตุของระดับโปรแลคตินสูงเกิดจากเนื้องอกในสมองส่วนที่สร้างฮอร์โมนโปรแลคตินมีขนาดใหญ่ ผู้ป่วยมักมีอาการจากก้อนเนื้องอก ได้แก่ อาการปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการมองเห็นผิดปกติ
สำหรับความผิดปรกติของระดับฮอร์โมน โปรแลคติน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก ซึ่งผู้หญิง-ผู้ชายที่วางแผนอยากจะมีบุตร สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษา เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนโปรแลคตินให้เข้าสู่ภาวะปรกติต่อไปค่ะ
———-
ติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆ
โทร : 082-699-1659 (ฝ่ายขาย)
Line : @Kidminute
Facebook Page : Kid Minute Fanpage
Facebook Chat : Kid Minute
ช่องทางอื่นๆ : https://rakbaby.com/contact-us/